
การบริหาร
การบริหารงานของ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยงานขนาดเล็ก เป็นหน่วยงานที่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูงในการบริหารจัดการองค์กร ที่ต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน แต่ยังคงสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย และพันธกิจหลักของคณะ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นสำคัญ
โครงสร้างองค์กร

เป้าหมายผลผลิต
คณะมีเป้าหมายการผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และนโยบายของสภามหาวิทยาลัย โดยยึดความเป็นอิสระทางวิชาการ (Academic Freedom) บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ (Accountability) ในการจัดการหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดงาน โดยกำหนดแผนหลักสูตรและเป้าหมายการรับนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2560-2564 ดังนี้
-
เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)สาขาเศรษฐศาสตร์• ปี 2560 = 230 คน• ปี 2561 = 230 คน• ปี 2562 = 180 คน• ปี 2563 = 180 คน• ปี 2564 = 180 คน• ปี 2565 = 180 คน• ปี 2566 = 180 คน
-
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)สาขาเศรษฐศาสตร์ (นานาชาติ)• ปี 2560 = 30 คน• ปี 2561 = 30 คน• ปี 2562 = 30 คน• ปี 2563 = 30 คน• ปี 2564 = 30 คน• ปี 2565 = 30 คน• ปี 2566 = 30 คนสาขาเศรษฐศาสตร์• ปี 2560 = 30 คน• ปี 2561 = 30 คน• ปี 2562 = 30 คน• ปี 2563 = 30 คน• ปี 2564 = 30 คน• ปี 2565 = 30 คน• ปี 2566 = 30 คน
การควบคุมคุณภาพ และมาตรฐาน
คณะมีการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพในการดำเนินงาน โดยมีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษาตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่
1) ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา และหลักเกณฑ์เงื่อนไขตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษาแห่งชาติ 2552 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา 2548 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี 2548 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 2548
2) คณะเป็นหน่วยผลิตบัณฑิตเฉพาะทางเศรษฐศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะโดดเด่นเฉพาะที่สำคัญ ที่มีความเข้าใจกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจในภาพกว้างเฉพาะด้านที่มีความสามารถในการนำข้อมูลจากสถานการณ์จริงมาใช้วิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อเสนอเป็นแนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศ
3) กำหนดเป้าหมาย การส่งมอบผลผลิตหลักที่สำคัญ คือ ผู้สำเร็จการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน องค์กรต่าง ๆ ทั้งที่มุ่งหวังผลกำไร และไม่มุ่งหวังผลกำไร ต้องเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพด้านการคิด วิเคราะห์ทรัพยากร การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ในส่วนเป้าหมายการผลิตผลงานวิจัย คณะได้ดำเนินการวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ ที่ครอบคลุมเศรษฐศาสตร์เกษตร อุตสาหกรรม พัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม พลังงาน การเมือง ทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น ด้านผลผลิตบริการวิชาการกำหนดให้มีการดำเนินการร่วมกันในชุมชนตั้งแต่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงองค์กร เพื่อให้สามารถนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องปฏิบัติ วัดผล และพัฒนาได้จริง
4) คณะกำหนดเทคนิคสำคัญต่าง ๆ ในการดำเนินการ ได้แก่ การคัดเลือก และรับนักเรียนเข้าศึกษาผ่านช่องทางที่สะดวก และเพียงกับความต้องการทั้งระบบรับตรง ระบบรับเข้าศึกษาจากส่วนกลาง ในการเรียนการสอนสอนได้กำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมตามข้อกำหนดระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ด้วยอัตรา 1:25 โดยกำหนดคุณวุฒิอาจารย์ปริญญาเอกทั้งหมด ในส่วนหลักสูตรกำหนดให้มีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ มีการกำหนดกิจกรรมการศึกษาเสริมหลักสูตร รวมทั้งวิธีการสอนที่ประสมประสานเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้ศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพ