คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Faculty of Economics Khon Kaen University

econ@kku.ac.th
Tel :

เกี่ยวกับคณะ

ประวัติการก่อตั้ง

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนามาจาก ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน (ปี 2566) ได้ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตด้านเศรษฐศาสตร์ออกไปรับใช้ประเทศชาติ รวม 3,040 คน

ต่อมาสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้อนุมัติให้ภาควิชาเศรษฐศาสตร์แยกออกไปจัดตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558 โดยมีวันคล้ายสถาปนาคณะเศรษฐศาสตร์ คือ วันที่ 14 สิงหาคม ของทุกปี

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตระหนักถึงพลวัตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ และในโลกปัจจุบันและอนาคต ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าขึ้น และกระแสการพัฒนาความยั่งยืนที่มุ่งแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนา Platform ใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ Digital Economy การพัฒนานักเศรษฐศาสตร์ หรือผู้ที่จะใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในการทำงานในยุคต่อไปจึงต้องผสมผสานองค์ความรู้ด้าน Economics, Language, Digital, Sustainability Literacies เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาในโลกยุคใหม่ต่อไปได้

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ทุกหลักสูตรของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะจัดการเรียนการสอนในลักษณะ Bilingual หรือ English Program เท่านั้นเ พื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านภาษาให้กับนักศึกษาของเรา นอกจากนี้คณะฯ ยังมุ่งให้คณาจารย์สร้างความลึกการวิจัยที่เน้นในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ที่ประยุกต์เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืนช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรเข้าสู่ Digital Era ได้อย่างเข้มแข็ง และนำองค์ความรู้ดังกล่าวกลับมาพัฒนาการเรียนการสอนในเชิงปฏิบัติแก่นักศึกษาของคณะฯ ต่อไป

"ด้วยสถานการณ์การรวมตัวของประชาคมอาเซียน และการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค ที่ทำให้เกิดความต้องการองค์ความรู้เชิงลึกในการพัฒนาเศรษฐกิจของอนุภาคลุ่มน้ำโขง และความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจลักษณะเฉพาะของการเติบโต และปัญหาเชิงลึกในภูมิภาค การมี คณะเศรษฐศาสตร์ จะช่วยเป็นกลไกลในการสังเคราะห์ เสนอแนะนโยบายทางเศรษฐศาสตร์ ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน และพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแขนงต่าง ๆ อาทิ เศรษฐศาสตร์พัฒนา เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม และการจัดการนวัตกรรม ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น"

นอกจากพันธกิจหลักในด้านวิชาการแล้ว คณะเศรษฐศาสตร์ยังมีพันธกิจด้านอื่น ๆ
ที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องสนับสนุนวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยด้วย ประกอบด้วย

โลโก้ประจำคณะเศรษฐศาสตร์​

ด้วยแนวคิดที่ว่าเป็นองค์กรที่เรียนรู้วิจัยเกี่ยวกับเรื่องเงินทอง เศรษฐกิจที่มีพลวัตรเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงต้องรอบรู้ทิศทาง ต้องวางแผนงาน จึงได้ใช้สัญลักษณ์ที่มี dynamic เป็นอักษรตัวโอ ของคำว่า อีคอน สร้างลวดลายใบเงินใบทองจาก symbol เหมือนการกระจายความรู้สู่สังคมให้เกิดการพัฒนาต่อไปในอนาคต

* การใช้งานที่ถูกต้องในสื่อต่างๆ จะต้องใช้ตามสัดส่วนที่แสดงดังภาพ ทั้งนี้เพื่อให้ตราสัญลักษณ์มีความโดดเด่นต้องเว้นว่างไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวน

อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น​

KKU LOGO ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น

* อ้างอิง: KKU branding

การบริหาร

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยงานขนาดเล็ก เป็นหน่วยงานที่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูงในการบริหารจัดการองค์กร ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน แต่ยังคงวิสัยทัศน์และพันธกิจองค์กรที่สัมพันธ์เชื่อมโยงต่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นสำคัญ

โครงสร้างองค์กร

เป้าหมายผลผลิต​

การผลิตบัณฑิตของคณะมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และนโยบายของของมหาวิทยาลัย โดยยึดความเป็นอิสระทางวิชาการ (Academic Freedom) บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ (Accountability) ในการจัดการหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดงาน โดยกำหนดการผลิตตามแผนหลักสูตร มีเป้าหมายการรับนักศึกษาประจำปีการศึกษาต่าง ๆ ดังนี้

ปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)

สาขาเศรษฐศาสตร์ (โปรแกรม นานาชาติ)
• ปี 2562 = 50 คน
• ปี 2563 = 50 คน
• ปี 2564 = 50 คน
• ปี 2565 = 50 คน
• ปี 2566 = 50 คน
สาขาเศรษฐศาสตร์ (โปรแกรม 2 ภาษา)
• ปี 2561 = 120 คน
• ปี 2562 = 120 คน
• ปี 2563 = 120 คน
• ปี 2564 = 120 คน
• ปี 2565 = 120 คน
• ปี 2566 = 120 คน

ปริญญาตรี เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศ.ม.)

สาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการประยุกต์ (โปรแกรม นานาชาติ)
• ปี 2562 = 30 คน
• ปี 2563 = 30 คน
• ปี 2564 = 30 คน
• ปี 2565 = 30 คน
• ปี 2566 = 30 คน

การควบคุมคุณภาพ และมาตรฐาน​

คณะกำหนดให้มีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษาตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่

        1) ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา และหลักเกณฑ์เงื่อนไขตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษาแห่งชาติ 2552 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา 2548 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี 2548 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 2548
 
        2) คณะเป็นหน่วยผลิตบัณฑิตเฉพาะทางเศรษฐศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะโดดเด่นเฉพาะที่สำคัญ ที่มีความเข้าใจกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจในภาพกว้างเฉพาะด้านที่มีความสามารถในการนำข้อมูลจากสถานการณ์จริงมาใช้วิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อเสนอเป็นแนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศ
 

        3) กำหนดเป้าหมาย การส่งมอบผลผลิตหลักที่สำคัญ คือ ผู้สำเร็จการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน องค์กรต่าง ๆ ทั้งที่มุ่งหวังผลกำไร และไม่มุ่งหวังผลกำไร ต้องเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพด้านการคิด วิเคราะห์ทรัพยากร การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ในส่วนเป้าหมายการผลิตผลงานวิจัย คณะได้ดำเนินการวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ ที่ครอบคลุมเศรษฐศาสตร์เกษตร อุตสาหกรรม พัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม พลังงาน การเมือง ทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น ด้านผลผลิตบริการวิชาการกำหนดให้มีการดำเนินการร่วมกันในชุมชนตั้งแต่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงองค์กร เพื่อให้สามารถนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องปฏิบัติ วัดผล และพัฒนาได้จริง

        4) คณะกำหนดเทคนิคสำคัญต่าง ๆ ในการดำเนินการ ได้แก่ การคัดเลือก และรับนักเรียนเข้าศึกษาผ่านช่องทางที่สะดวก และเพียงกับความต้องการทั้งระบบรับตรง ระบบรับเข้าศึกษาจากส่วนกลาง ในการเรียนการสอนสอนได้กำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมตามข้อกำหนดระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ด้วยอัตรา 1:25 โดยกำหนดคุณวุฒิอาจารย์ปริญญาเอกทั้งหมด ในส่วนหลักสูตรกำหนดให้มีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ มีการกำหนดกิจกรรมการศึกษาเสริมหลักสูตร รวมทั้งวิธีการสอนที่ประสมประสานเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้ศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพ