คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Faculty of Economics Khon Kaen University

econ@kku.ac.th
Tel :

ทุนแลกเปลี่ยนต่างประเทศ: ทุนระยะยาว

ทุนการศึกษา

ทุนระยะยาว

ระดับปริญญาตรี

นักศึกษาในสูตรของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีสิทธิ์ได้รับเงินทุนสนับสนุนการศึกษา ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ให้ความห่วงใย ใส่ใจ สังคม ร่วมสานฝันให้เยาวชนรุ่นใหม่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับโอกาสเข้าศึกษาต่อจนจบปริญญาตรี และส่งเสริมความมุ่งมั่นตั้งใจในการเข้าศึกษาเล่าเรียนกับมหาวิทยาลัย ช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการใช้ชีวิตระหว่างศึกษา นอกจากนี้ยังมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่มาจากโยบายรัฐบาลอีกทางช่องทางหนึ่ง ทุนประเภทต่างๆ ประกอบไปด้วย

ทุน TOP TALENT

สำหรับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรสองภาษา ทุนสนับสนุนค่าเทอม 80% ตลอดหลักสูตร!! (ชำระ 5,000 บาท/เทอม) และได้ร่วมฝึกงานกับบริษัทหรือหน่วยงานชั้นนำ หรือธุรกิจ Start up ภายในประเทศ

ทุน TOP STAR​

สำหรับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ทุนสนับสนุนค่าเทอม 80% ตลอดหลักสูตร!! (ชำระ 8,000 บาท/เทอม) และยังได้รับพิจารณาทุนสนับสนุนการเรียนรู้ในต่างประเทศ

ทุน INNOVATION

ทุนสร้างต้นแบบ (prototype) นวัตกรรมใหม่ทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ สำหรับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์

ทุนทำงาน (Work Scholarship)​

สำหรับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ สมัครเป็นผู้ช่วยงาน และฝึกปฏิบัติงานในส่วนงานหรือโครงการต่าง ๆ ของคณะเศรษฐศาสตร์

ทุนจากมหาวิทยาลัย/หน่วยงานต่าง ๆ

นอกจากทุนที่คณะจัดไว้ให้แล้ว นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ยังสามารถสมัครขอรับทุนจากแหล่งอื่น ๆ กับทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้อีกด้วย

ระดับบัณฑิตศึกษา

ทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สนับสนุนเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและพัฒนาคุณภาพวิทยานิพนธ์ โดยจัดสรรทั้งคณะเศรษฐศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่านโครงการทุนการศึกษาต่าง ๆ ได้แก่

ทุนสนับสนุนผู้ช่วยสอน (TA)

เพื่อพัฒนาความสามารถและเพิ่มทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของระดับ บัณฑิตศึกษา สามารถนำความรู้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้จริง

ทุนวิจัยสำหรับคณาจารย์บัณฑิตศึกษา

เป็นการให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ให้เชื่อมโยงกับ กรอบทิศทางของการวิจัยของมหาวิทยาลัย และเป็นการสร้างศักยภาพคณาจารย์บัณฑิตศึกษาให้ มีโอกาสรับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูงเข้ามาศึกษาในหลักสูตร และผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ

ทุนผู้ช่วยวิจัย (RA: Research Assistantships)

เป็นเงินทุนสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาร้อยละ 80 ตามจำนวนเงินที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บในแต่ละปีการศึกษาเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปีการศึกษานับจากวันที่เริ่มรับทุน และเงินทุนในลักษณะค่าตอบแทนรายเดือน วงเงินทุนละ 8,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปีการศึกษา นับจากเดือนที่เริ่มรับทุน โดยพิจารณาให้ทุนจำนวน 20 ทุนต่อปีการศึกษา โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

     – คุณสมบัติของอาจารย์ผู้ขอรับทุน
เป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ และไม่เป็นผู้ที่กำลังจะไปศึกษาต่อหรือในระหว่างศึกษาต่อ หรือ อบรมระยะยาว (ระยะเวลาเกิน 180 วัน)
มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือมีตำแหน่งทางวิชาการตั้งแต่รองศาสตราจารย์ เป็นต้นไป
มีโครงการวิจัยในฐานะหัวหน้าโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
มีเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่ขอรับทุน

     – คุณสมบัติของนักศึกษาผู้มีสิทธิ์สมัครเป็นผู้ช่วยวิจัย
เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษา ป.โท เฉพาะแผน ก แบบ ก2
มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับ ป.ตรี หรือ ป.โท ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ไม่น้อยกว่า 3.25 หรือได้หนังสือรับรองจากอาจารย์ผู้ขอรับทุน
ในระหว่างที่นักศึกษาได้ทุนสามารถรับทุนอื่นได้แต่ต้องไม่เบิกจ่ายซ้ำซ้อน
นักศึกษาต้องปฏิบัติงานวิจัยได้เต็มเวลาตามแผนงานร่วมกับอาจารย์

     – หลักเกณฑ์การพิจารณาและจัดสรรทุน
เงินทุนสนับสนุนค่าธรรมเนียม การศึกษาร้อยละ 80 (40,000 บาท) ไม่เกิน 2 ปีการศึกษานับจากวันที่เริ่มรับทุน
เงินทุนในลักษณะค่าตอบแทนรายเดือน เดือนละ 8,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่เริ่มรับทุน

     – เงื่อนไขการรับทุน
อาจารย์ผู้ขอรับทุน ต้องประเมินผลความก้าวหน้างานวิจัยของนักศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษรในทุกภาคการศึกษาและคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยประเมินผลให้ได้รับทุนต่อ
ผลงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์หรือมีหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐาน ISI web of science ที่อยู่ในควอไทล์ที่ 1,2 หรือ 3 (Q1, Q2, Q3) อ้างอิงตามฐานข้อมูล JCR (Journal Citation Reports) หรือ SCOPUS อยู่ในควอไทล์ที่ 1,2 หรือ 3 (Q1, Q2, Q3) อ้างอิงตามฐานข้อมูล SJR (SCImago Journal Rank) อย่างน้อยจำนวน 1 เรื่อง โดยวารสารที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องปรากฏชื่ออาจารย์ผู้ขอรับทุนฯ ชื่อนักศึกษาผู้ขอรับทุนฯ พร้อมระบุชื่อคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยงานต้นสังกัด
อาจารย์ผู้ขอรับทุน ต้องนำส่งแผนปฏิบัติงานรายภาคการศึกษาต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยฯ

     – กระบวนการคัดเลือกและการพิจารณาให้ทุน
อาจารย์ผู้ขอรับทุน ที่มีผลงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐาน ISI web of science ที่อยู่ในควอไทล์ที่ 1,2 หรือ 3 (Q1, Q2, Q3) อ้างอิงตามฐานข้อมูล JCR (Journal Citation Reports) หรือ SCOPUS อยู่ในควอไทล์ที่ 1,2 หรือ 3 (Q1, Q2, Q3) อ้างอิงตามฐานข้อมูล SJR (SCImago Journal Rank) มีสิทธิ์ขอรับทุน ไม่เกิน 2 ทุน
อาจารย์ผู้ขอรับทุน ที่ยังไม่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐาน ISI web of science ที่อยู่ในควอไทล์ที่ 1,2 หรือ 3 (Q1, Q2, Q3) อ้างอิงตามฐานข้อมูล JCR (Journal Citation Reports) หรือ SCOPUS อยู่ในควอไทล์ที่ 1,2 หรือ 3 (Q1, Q2, Q3) อ้างอิงตามฐานข้อมูล SJR (SCImago Journal Rank) มีสิทธิ์ขอรับทุนได้ 1 ทุน

     – ข้อผูกพันของทุน
กรณีนักศึกษาผู้รับทุน ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา หรือมีเหตุให้สิ้นสุดสัญญาทุน นักศึกษาไม่ต้องรับผิดชอบทุนสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ได้รับไปแล้ว

อาจารย์จะไม่สามารถขอทุน RA เพิ่มเติมได้ถ้าอาจารย์ผู้ขอรับทุนยังไม่สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยตามเงื่อนไขการรับทุน

ทุนสนับสนุนเข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาติ (International Conference)

ทุนสำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติในลักษณะของการประชุมแบบนานาชาติ หรือ International conference ที่มีความชัดเจนในรูปแบบการประชุมและผู้จัดการประชุมรวมถึงเอกสารรวบรวมบทความวิจัย ณ วันยื่นขอรับการสนับสนุน จำนวน 1 ครั้ง ต่อคน ต่อหลักสูตร ในเขตพื้นที่ ๆ มีการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ดังนี้

     – กลุ่มประเทศทวีปยุโรป/อเมริกา/แอฟริกา จะได้รับพิจารณาทุนวงเงินไม่เกิน 70,000 บาท

     – กลุ่มประเทศออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ จะได้รับพิจารณาทุนวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท

     – กลุ่มประเทศเอเชีย (ที่ไม่ใช่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน) จะได้รับพิจารณาทุนวงเงินไม่เกิน 40,000 บาท

     – กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับพิจารณาทุนวงเงินไม่เกิน 25,000 บาท

     – จัดในประเทศไทย จะได้รับพิจารณาทุนวงเงินไม่เกิน 15,000 บาท