คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในการประชุมวิชาการ FAEA 47th Annual Conference


คณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมการประชุม FAEA ครั้งที่ 47 ในหัวข้อ “Sustainable transformation of ASEAN Economies” เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2568 ณ The Emerald Hotel จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
หัวข้อ: การปรับรูปแบบการเกษตร: ความท้าทาย นวัตกรรม และแรงจูงใจเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน (Reshaping Agriculture: Challenges, Innovation, and Motivation for Sustainable Agriculture)
ใน Sponsored Session II
ประธาน (Chairperson) : รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย (คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ผู้อภิปราย (Discussant) : รศ.ดร.สันติ แสงเลิศไสว (คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
ผลงานวิจัยที่นำเสนอ
1. “Burning fields, fading memories: Exploring the effects of sugarcane burning on air quality and cognitive functioning – A case study in Northeast Thailand” ผู้นำเสนอ: ผศ.ดร.ธัญมัชฌ สรุงบุญมี
2. “Does go greener is better: Scenario analysis to predict GHG emission and farmers’ income from different rice practices” ผู้นำเสนอ: ผศ.ดร.จักรพันธ์ สุขสวัสดิ์
3. “Potential ways to enhance green technology adoption among small scale farmers: The cases of temporary financial incentives and social network” ผู้นำเสนอ: รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย
งานวิจัยที่นำเสนอในการประชุมนี้มุ่งเน้นไปที่การชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อทั้งเกษตรกรและสังคมโดยรวม รวมถึงแนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้
งานวิจัยฉบับแรกนำเสนอหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะ PM2.5 ที่มีโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน การศึกษาแสดงให้เห็นผลกระทบเชิงลบของการเผาไร่อ้อยที่มีต่อความจำของมนุษย์อย่างชัดเจน งานวิจัยฉบับที่สองชี้ให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำการเกษตรแบบยั่งยืนสามารถนำไปสู่ผลการเพิ่มผลประโยชน์ทั้งต่อเกษตรกรและสังคม โดยใช้กรณีศึกษาการปลูกข้าวยั่งยืนที่สามารถสร้างประโยชน์ทั้งต่อเกษตรกรและสังคม รวมถึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมซึ่งสามารถขยายผลในวงกว้างได้จริง งานวิจัยฉบับที่สามมุ่งเน้นการตอบคำถามว่าเมื่อมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสามารถขยายในวงกว้างได้ เราควรทำอย่างไรเพื่อให้เกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยยอมรับและนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ โดยศึกษาวิธีการแทรกแซงที่สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากการเกษตร งานวิจัยนี้ใช้การทดลองภาคสนามหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เห็นแนวทางการกระตุ้นการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ และยังให้ข้อมูลจากการสำรวจขนาดใหญ่ที่เน้นบทบาทของการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายทางสังคมในสังคมของเกษตรกรในการขยายการยอมรับและใช้เทคโนโลยีในวงกว้าง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารการนำเสนอได้ที่: https://econsociety.or.th/faea47th/