FACULTY PROFILE ส่องผลงานอาจารย์ ECON : ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง
FACULTY PROFILE PROJECT ประจำเดือนกันยายนนี้ นั้นก็คืออาจารย์แจงที่ทุกคนรู้จักนั่นเอง หรือชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง ต่อจากนี้ขออนุญาตเรียกสั้นๆว่าอาจารย์แจงเลยนะคะ สำหรับผลงานที่จะมานำเสนอในครั้งนี้จะเป็นอะไรนั้น ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
สำหรับผลงานของอาจารย์แจงที่เราจะนำมาพูดถึงกันในวันนี้ก็จะเป็นผลงานในรูปแบบรายงานวิจัยในหัวข้อเรื่องการจัดการการเงินครัวเรือนเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(Financial Management of Farmer’s Households in the Northeast) โดยเนื้อหาสาระสำคัญของงานวิจัยเรื่องนี้ก็จะเกี่ยวกับการจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกรใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการการเงินของครัวเรือนด้านรายได้ การใช้จ่าย หนี้สิน และการออม 2) พฤติกรรมการก่อหนี้และการบริหารจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตร รวมถึงรูปแบบและลักษณะการผัดหนี้ของครัวเรือนเกษตร และ 3) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดหนี้ของเกษตรกร
โดยในวิจัยนี้ได้แบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็นภาคครัวเรือนทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่
1) ครัวเรือนที่ปลูกข้าว
2) ครัวเรือนที่ปลูกข้าวและผักสวนครัว
3) ครัวเรือนที่ปลูกข้าวและข้าวโพด
4) ครัวเรือนที่ปลูกข้าวและอ้อย
5) ครัวเรือนที่ปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์
ซึ่งกลุ่มเกษตรกรทั้ง 5 รูปแบบนี้ก็จะมีแบบแผนการผลิตที่ต่างกันและจะมีรูปแบบวิธีการจัดการการเงินของครัวเรือนแตกต่างกัน ส่งผลให้รายได้ การใช้จ่าย หนี้สิน และการออม แตกต่างกันไปด้วย
จากการศึกษารายงานวิจัยเรื่อง การจัดการการเงินครัวเรือนเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Financial Management of Farmer’s Households in the Northeast) พบว่าเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีหนี้สินอยู่เป็นจำนวนมากแต่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรอยู่ หากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆท่านใดอยากทราบสาเหตุสำคัญว่าทำไมเกษตรกรที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรต่อไปอยู่นั้น สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากไฟล์ด้านล่างที่แนบไว้ได้เลยนะคะ