ERP & SCM
ERP (Enterprise Resource Planning) และ SCM (Supply Chain Management) มีรากฐานการพัฒนาย้อนไปได้ใน ทศวรรษ 1960s เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นครั้งแรกเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ทางธุรกิจ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านคอมพิวเตอร์ต้องกระโดดลงมาพัฒนา Software applications เพื่อขายควบกับ Computer hardware ให้ง่ายขึ้นและครบวงจรมากขึ้น
มีการพัฒนาโปรแกรม MRP (Material Requirements Planning) เสนอต่อธุรกิจประเภทผลิตเพื่อให้จัดการวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่โปรแกรมก็ยังอยู่ในลักษณะพื้นฐาน (Simple processing logic) และเน้นไปที่การจัดการ Input, output reports โดยรวมพบว่า โปรแกรมยังไม่มีลักษณะที่ซับซ้อน
แม้ว่าจะเป็นคำถามสำคัญที่ดูเหมือนง่าย แต่ต้องพัฒนาโปรแกรมในการรวบรวมข้อมูล Input การคำนวณ และ Output Reports พอสมควร ซึ่งเมื่อมองย้อนไปการที่มี Hardware และ Software applications ดังกล่าวก็ถือว่าโดนใจบริษัทที่มีลักษณะเป็น Production business เป็นอย่างยิ่งในขณะนั้น
อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการวัตถุดิบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวางแผนการผลิตเท่านั้น ในปี 1984 Oliver Wright จึงมีการพัฒนา MRP II และใช้ชื่อใหม่ว่า Manufacturing resource planning และมีการพัฒนา Information system ใหม่สำหรับ MRP II ซึ่งครอบคลุม ทั้งการวางแผนบริหารจัดการวัตถุดิบ การบริหารกำลัง
การผลิต การบริหารออร์เดอร์การผลิต การจัดซื้อ การบริหารการขาย การบริหารต้นทุนและการวิเคราะห์ข้อมูล
การผลิต เป็นต้น
ERP ถูกพัฒนาขึ้นต่อมาอีกเพื่อเติมเต็มให้โปรแกรม MRP II โดยเฉพาะให้สามารถรองรับทั้งธุรกิจที่ผลิตและธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจบริการ และเติมโปรแกรมสำหรับ Core functions อื่น ๆ ที่เหลือ เช่น ด้านบัญชีการเงิน
การควบคุมภายใน การจัดการทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
ชื่อ ERP เริ่มใช้กันมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1990 โดยบริษัทที่พัฒนา Business software ที่มีชื่อเสียง เช่น SAP, PeopleSoft, Baan เป็นต้น และเมื่อเข้าสู่ยุค ERP แล้ว MRP II ก็ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมไป และกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ERP
อย่างไรก็ดี ระบบ ERP ก็ยังมีจุดอ่อนเพราะมุงไปบริหารจัดการระบบภายในธุรกิจเท่านั้น ในขณะที่ในกระบวนการทำธุรกิจมีระบบที่จะต้องเชื่อมต่อกับภายนอกด้วย เช่น Suppliers ต่าง ๆ ERP จึงถูกพัฒนาต่อเพิ่มเติมโดยคำนึงถึงประเด็นที่จะช่วยให้ Supply chain management มีประสิทธิภาพเชื่อมต่อกับระบบภายในได้ ERP ในยุคปัจจุบันจึงมีระบบและโปรแกรมที่ถูกออกแบบได้ครบวงจรได้มากขึ้น อาจเรียกได้ว่าความก้าวหน้าเพิ่มเติมนี้ กำลังเข้าสู่ยุค Advanced planning and scheduling (APS)
Keyword: ERP, การพัฒนา ERP, วิวัฒนาการ ERP
บทความโดย: รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กฤษฎา เสกตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น