คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Faculty of Economics Khon Kaen University

econ@kku.ac.th
Call Us Now:

ข้อมูลจาก captives.com ระบุว่า ประเภทของ ERP Programs สรุปได้ 4 กลุ่ม ได้แก่

1) ERP in a Box เป็น ERP programs ที่มีลักษณะสำเร็จรูปและกะทัดรัด ติดตั้งง่าย และออกแบบให้มี Core functions สำคัญ แต่ไม่สามารถดัดแปลงเพิ่มเติมมากนัก(cannot be easily configured or customized) ระบบ ERP in a Box แบบนี้มักมีราคาไม่แพง เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ตัวอย่างของโปรแกรมแบบนี้ เช่น Quickbook, Monday.com

2) Large Scale/ Complex ERPs ERP programs ประเภทนี้ จะสามารถปรับให้เข้ากับ Framework ของแต่ละบริษัทผ่าน A specific software ที่จะพัฒนาขึ้น ตัวอย่างของ ERP programs ประเภทนี้ เช่น SAP R3, Sage M3 เป็นต้น

3) Intermediate/ Flexible ERPs ERP ประเภทนี้อยู่ระหว่าง ERP in a Box และ Large Scale ERP โดยมีStandard Programs แต่สามารถ Customized ได้ จึงมีความยืดหยุ่น อีกทั้งราคาไม่แพง เหมาะกับธุรกิจ SMEs ตัวอย่างเช่นโปรแกรมของ Odoo, SAP, Netsuite Monday.com เป็นต้น

4) Industry-Specific ERPs เป็น ERP ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะให้รองรับธุรกิจในอุตสาหกรรมเฉพาะ เช่น โรงพยาบาล สายการบิน เป็นต้น ซึ่งมี Terminology หรือศัพท์เทคนิค รวมทั้งวิธีOperations ที่ต่างไปบ้างจากธุรกิจทั่วไป จึงต้องการพัฒนา Particular modulesที่มีความเฉพาะเกินกว่าจะ customized จาก Standard modules

ข้อมูลจาก qad.com สรุปว่า ประเภทของ ERP Programs อาจแบ่งเป็น

1) Cloud ERP คือ ERPที่ใช้บนระบบคลาวด์ ถือว่าเป็น Web based solutions โดยองค์กรสามารถเข้าถึงและเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องบน device ใดๆก็ได้ที่มีการเชื่อมต่อกับInternet โดยทั่วไประบบERPแบบนี้จะขายแบบให้สมัครเป็นสมาชิก(Subscription) โดยเจ้าของระบบจะมีการ Supports และการอบรมให้ด้วย

2) On-premise ERP หรือ ERP ที่ใช้บนระบบ ITภายในขององค์กร เป็นระบบที่นำไปติดตั้ง On-site หรือบน Physical office space โดยบริษัทนำระบบ ERP ที่ซื้อมาไปติดตั้งบน Computers และ Servers ขององค์กรเองทำให้สามารถควบคุมPrograms ภายในได้ทั้งหมดแบบ Full control

3) Hybrid ERP คือ ERP systems ที่พัฒนาให้ใช้ได้ทั้งระบบ Cloud และ On-Premise เป็นระบบที่จะช่วยให้เกิดความยืดหยุ่น ช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่หากเกิดความขัดข้องในระบบใดระบบหนึ่ง

ที่มา : captives.com, qad.com

บทความโดย
รศ.(พิเศษ) ดร.กฤษฎา เสกตระกูล
ที่ปรึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น